10 สัญญาณเตือน โรคเบาหวานที่เป็นแล้วไม่หวาน
การเข้าชม: 3 ครั้ง
วันที่เผยแพร่: 4 ธันวาคม 2567
การเข้าชม: 3 ครั้ง
วันที่เผยแพร่: 4 ธันวาคม 2567
10 สัญญาณเตือน โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า
อินซูลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้ว ร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินซูลิน
เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินซูลินมีความผิดปกติ
ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินซูลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่าง ๆ
ของร่างกายตอบสนองต่ออิอินซูลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน)
จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ
สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง
จนทำให้ไตดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด
ซึ่งปกติไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้
ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำ ว่า
"โรคเบาหวาน" หากเราปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนาน ๆ
โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด
ชนิดของโรคเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่ 1 -
เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน
เบาหวานชนิดที่ 2 - เกิดจากภาวะการลดลงของการสร้างอินซูลิน
ร่วมกับภาวะดื้ออินซูลิน และมักเป็นกรรมพันธุ์
เบาหวานชนิดพิเศษ -
สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดนี้อาจเกิดจากความความผิดปกติของตับอ่อน
หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับการ
ทำงานที่ผิดปกติของอินซูลินโดยกำเนิด
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ -
เบาหวานชนิดนี้เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และหายไปได้หลังคลอดบุตร
แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต
สัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน
การรักษาโรคเบาหวาน
การรักษาโรคเบาหวาน
เป็นการรักษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากแพทย์ พยาบาล โภชนากร และ
ที่สำคัญที่สุดคือตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยต้องตระหนักถึงความสำคัญของการรักษา
โดยต้องเข้าใจก่อนว่า โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
แต่สามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงปกติที่สุดได้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถใช้ชีวิตประจำวันและทำกิจกรรมต่าง
ๆ
รวมถึงทำงานประจำได้ตามปกติหากแต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยการควบคุมอาหาร
ออกกำลังกาย และใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดรวมทั้งติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นได้มาก
การควบคุมอาหาร
การรักษาโรคเบาหวานด้วยวิธีการควบคุมอาหารมีความสำคัญมากในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และถือเป็นการรักษาหลักที่ผู้ป่วยเบาหวานทุกรายควรเข้าใจและปฏิบัติอย่างถูกต้อง โดยอาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้อย่างไม่จำกัดจำนวนได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ขาว เป็นต้น อาหารบางชนิดที่สามารถรับประทานได้ในปริมาณจำกัด เช่น ผลไม้ แนะนำให้รับประทานผลไม้ชนิดหวานน้อย เช่นฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร เป็นต้น
การออกกำลังกาย
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานการออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาโรคเบาหวานที่สำคัญ
เนื่องจากจะช่วยให้อินซูลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แนะนำว่าควรออกกำลังกายชนิดแอโรบิก เช่น วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน
ให้ได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อ สัปดาห์ และออกกำลังกายชนิดต้านน้ำหนัก เช่น การยกเวท
เป็นเวลาอย่างน้อย 45 นาทีต่อวัน 2 วันต่อสัปดาห์ และไม่ควรนั่งอยู่เฉย
ๆหรือนอนเล่นพักผ่อนเกิน 90 นาที หากเกินควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบท
การใช้ยา
การรักษาโรคเบาหวานโดยการใช้ยา
แพทย์จะพิจารณาจากชนิดของโรคเบาหวาน เช่น เบาหวานชนิดที่ 1 ควรรักษาโดยการฉีดอินซูลินเท่านั้น
ส่วนในเบาหวานชนิดที่ 2 แพทย์จะพิจารณาตามความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกข้อน
โอกาสการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำและเศรษฐานะของผู้ป่วยเพื่อประกอบการพิจารณาในการเลือกใช้ยา
โรงพยาบาลศรีสวรรค์ สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
โรงพยาบาลศรีสวรรค์ สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
โรงพยาบาลศรีสวรรค์ สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
วิธีดูแลเด็กหลังฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันผลข้างเคียง เช่น ไข้ หรืออาการบวม คำแนะนำจากแพทย์เพื่อให้เด็กฟื้นตัวได้เร็ว
โรคอ้วนในเด็กไม่ใช่แค่เรื่องน้ำหนัก! เข้าใจสาเหตุ อันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพทั้งกายและใจ พร้อมวิธีที่พ่อแม่สามารถช่วยลูกลดน้ำหนักและมีสุขภาพที่แข็งแรง
นอนกรนในเด็กอาจไม่ใช่เรื่องเล็ก! ระวังภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ส่งผลต่อพัฒนาการ การเรียนรู้ และสุขภาพของลูกน้อย พร้อมแนวทางวินิจฉัยและการรักษาที่คุณควรรู้