ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี?
วันที่เผยแพร่: 25 มีนาคม 2568
วันที่เผยแพร่: 25 มีนาคม 2568
ไข้หวัดใหญ่ ชื่ออาจจะฟังดูไม่น่ากลัวเท่าโควิด-19 แต่ความจริงแล้วมีความรุนแรงกว่าที่คิด ในช่วงฤดูฝนของปี 2566 นี้ มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นกว่า 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในช่วงที่โควิด-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้ผู้คนเก็บตัวในบ้าน ระมัดระวังด้านสุขอนามัย โอกาสแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่ก็น้อยลง
นอกจากนี้ประชาชนฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่น้อยลง ทำให้ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ยังหมุนเวียนอยู่อย่างเบาบาง เมื่อการระบาดของโควิด-19 ลดลง สังคมเข้าสู่สภาวะปกติ ทำให้พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มากขึ้นอย่างชัดเจน ข้อมูลล่าสุดจากกรมควบคุมโรคเผยว่า ปี 2566 คนไทยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ไปแล้วกว่า 200,000 ราย และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง เพราะคนไทยยังไม่มี ‘ภูมิคุ้มกัน’ ไข้หวัดใหญ่
อาการไข้หวัดใหญ่กับไข้ธรรมดาต่างกันอย่างไร
อาการไข้หวัดใหญ่มักมีอุณหภูมิของร่างกายสูงถึง 39 – 40 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่เป็นจะนานและอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่จะระบาดและพบบ่อยช่วงฤดูฝนจนถึงช่วงฤดูหนาว
ส่วนไข้หวัดธรรมดาจะเป็นได้ตลอดทั้งปี เมื่อมีอาการสามารถกินยาตามอาการร่วมกับการดูแลตัวเองพักผ่อนให้เพียงพออาการก็จะดีขึ้น แต่หากเป็นไข้หวัดใหญ่จำเป็นที่จะต้องมาพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มีลักษณะอย่างไร?
1. การกลายพันธุ์ และการแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A
การกลายพันธุ์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A มีความสามารถในการกลายพันธุ์สูง โดยเฉพาะในส่วนของโปรตีน Hemagglutinin (HA) และโปรตีน Neuraminidase (NA) ซึ่งทำให้ไวรัสสามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีน และการติดเชื้อก่อนหน้าได้ ซึ่งการกลายพันธุ์นี้อาจนำไปสู่การระบาดใหญ่ (Pandemic) ได้
การแพร่กระจาย สายพันธุ์ A สามารถแพร่กระจายได้ทั้งใน คน และสัตว์ เช่น นก หมู ผ่านสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ด้วยการ ไอ หรือจาม ในระยะใกล้ชิด รวมไปถึงติดจากมือ และสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายได้ทางจมูก และตา เป็นต้น
2. ความรุนแรงของการระบาด
เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A มีความสามารถในการกลายพันธุ์ และแพร่กระจายเชื้อได้ค่อนข้างสูง จึงนำไปสู่การระบาดใหญ่ได้ ตัวอย่างเช่น การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 (ไข้หวัดหมู) ในปี 2009
3. กลุ่มเป้าหมายของการติดเชื้อ
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A สามารถติดเชื้อได้ทั้งใน คน และสัตว์ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ อีกทั้งยังมีโอกาสในการข้ามสายพันธุ์ และเกิดการระบาดใหม่ได้สูง
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีลักษณะอย่างไร?
การกลายพันธุ์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีอัตราการกลายพันธุ์ที่ต่ำกว่า ทำให้มีความคงที่มากกว่าในแง่ของสายพันธุ์ และประสิทธิภาพของวัคซีน
การแพร่กระจาย ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีการแพร่กระจายจาก คนสู่คน เท่านั้น และมักจะเกิดการระบาดในระดับท้องถิ่น
สามารถพบเชื้อได้ตลอดทั้งปี โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นมากในช่วงฤดูหนาว ซึ่งการระบาดของสายพันธุ์ B มักจะเป็นพื้นที่ระดับภูมิภาค ที่ไม่ได้จำกัดในครัวเรือน หรือชุมชน แต่ขยายออกไปครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างขึ้น เช่น จังหวัด ภาค เป็นต้น และมีความรุนแรงน้อยกว่า โดยทั่วไปมีความรุนแรงต่ำกว่า มีโอกาสเกิดการระบาดใหญ่น้อยกว่า
ไวรัสสายพันธุ์ B ติดเชื้อเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น ไม่สามารถข้ามสายพันธุ์ไปยังสัตว์ได้
สรุป ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ไหนรุนแรงที่สุด ?
ลักษณะ | ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A | ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B |
ความหลากหลายทางพันธุกรรม | สูง | ต่ำ |
ความรุนแรง | สูง | ต่ำ |
การแพร่ระบาด | วงกว้าง | วงแคบ |
ลักษณะโรคไข้หวัดใหญ่
เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเกือบทุกทวีป ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตนับล้านคน
สาเหตุการเกิดไข้หวัดใหญ่
วิธีการติดต่อของโรคไข้หวัดใหญ่
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดต่อทางการหายใจ โดยจะได้รับเชื้อที่ออกมาปนเปื้อนอยู่ในอากาศเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด ในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น เช่น โรงเรียน โรงงาน การแพร่เชื้อจะเกิดได้มาก นอกจากนี้การแพร่เชื้ออาจเกิดโดยการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย (droplet transmission) จากมือที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปาก
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่
อาการจะเริ่มหลังได้รับเชื้อ 1-4 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้แบบทันทีทันใด (ในผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กมักจะสูงกว่านี้) ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก และอาจพบอาการคัดจมูก เจ็บคอ ถ้าป่วยเป็นระยะเวลานานอาจจะมีอาการไอจากหลอดลมอักเสบ (post viral bronchitis) อาการจะรุนแรงและป่วยนานกว่าไข้หวัดธรรมดา (common cold) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่มีบางรายที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดบวม ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต ได้แก่
อาการไข้หวัดใหญ่ | อาการไข้หวัดธรรมดา |
ไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส | มีไข้ |
ปวดศีรษะ | ปวดศีรษะ |
ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลียมาก | เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย |
อาการปวดท้องและปัญหาระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย | ไอ จาม เจ็บคอ น้ำมูกไหล |
ไอ จาม เจ็บคอ น้ำมูกไหล (อาการมักรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา) | อาจมีปัญหาระบบทางเดินอาหารได้ |
คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร | |
ไข้หวัดใหญ่มีอาการกี่วัน
ไข้หวัดใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสละอองฝอยจากการไอและการจามของผู้ป่วย เชื้อไวรัสจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก และน้ำลาย โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-4 วัน ระยะติดต่อ
ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการและจะแพร่เชื้อต่อไปอีก 3-5 วันหลังมีอาการในผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กอาจแพร่เชื้อได้นานกว่า 7 วัน ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แต่ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อในช่วงเวลานั้นได้เช่นกัน
การวินิจฉัยแยกโรคไข้หวัดใหญ่
การวินิจฉัยแยกโรคไข้หวัดใหญ่จากเชื้ออื่นโดยอาศัยลักษณะทางคลินิกอย่างเดียวทำได้ยาก เชื้ออื่นๆที่ทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ Mycoplasma Pneumoniae, Adenovirus, Respiratory Syncytial Virus (RSV), Rhinovirus, Parainfluenza Virus, และ Legionella spp.
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
ตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในเสมหะที่ป้ายหรือดูดจากจมูกหรือลำคอ หรือ
ตรวจพบแอนติเจนของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ใน Epithelial cell จาก Nasopharyngeal secretion โดยวิธี Fluorescent Antibody หรือ
ตรวจพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อในซีรั่มอย่างน้อย 4 เท่าในระยะเฉียบพลันและระยะพักฟื้น โดยวิธี Hemagglutination Inhibition (HI) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน หรือ Complement Fixation (CF) หรือ Enzyme - linked immunosorbent assay (ELISA)
การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถลดความรุนแรงของอาการและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาการของโรคไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 มีความคล้ายคลึงกัน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถลดและป้องกันความสับสนระหว่างโรคทั้งสองนี้ การรับวัคซีนทั้ง COVID-19 และไข้หวัดใหญ่ในเวลาเดียวกันนั้นทำได้ สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ไข่ขาวสามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้
การป้องกันการแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่
เนื่องจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% สุขอนามัยที่ดีสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดูแลตัวเองที่บ้าน
ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ?
เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่เรื่อย ๆ ในการผลิตวัคซีนแต่ละปีจึงมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตามเชื้อไวรัสด้วยเช่นกัน และเนื่องจากระยะก่อโรคสั้น จำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอเพื่อเตรียมพร้อมในการป้องกันโรค
สาเหตุเพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่เรื่อยๆ การผลิตวัคซีนแต่ละปีจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตามเชื้อไวรัส เพื่อให้ครอบคลุมเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุและร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคประมาณ 1 ปี จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่กระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกปี เพื่อจะได้ป้องกันได้อย่างต่อเนื่องและให้ร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันและปรับให้เหมาะสมกับเชื้อไวรัสในแต่ละปีด้วยเช่นกัน
วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคประมาณ 70 - 90% แต่ในผู้สูงอายุและผู้ที่มีภูมิต้านทานร่างกายไม่แข็งแรง การตอบสนองต่อวัคซีนอาจลดลง อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังมีประโยชน์ในการลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน โอกาสที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตลงได้
วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงเปลี่ยนฤดูกาลก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของโรค สำหรับประเทศไทยจะแพร่ระบาดมากในช่วงฤดูฝน (ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม) และฤดูหนาว (ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม)