อาการแพ้ท้อง รับมืออย่างไรให้ไม่แพ้

วันที่เผยแพร่: 5 พฤษภาคม 2568

หน้าปกบทความ อาการแพ้ท้อง รับมืออย่างไรให้ไม่แพ้

อาการแพ้ท้อง รับมืออย่างไรให้ไม่แพ้

แพ้ท้อง เป็นอาการทั่วไปของคุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนต้องเผชิญ และเป็นอาการเตือนอย่างแรก ๆ ที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์เลยทีเดียว แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์บางราย อาจจะมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงที่น่าเป็นกังวลอยู่ จึงเกิดคำถามว่าการแพ้ท้องหนัก ของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ของเราหรือไม่

หากมีอาการแพ้ท้องมากสามารถไปพบแพทย์ที่คลินิกสูตินรีเวชที่ไปฝากครรภ์ได้ เพื่อจะได้รับคำแนะนำและการรักษาที่ถูกวิธี


แพ้ท้องคืออะไร?

แพ้ท้อง หรือ Morning Sickness คืออาการที่แสดงสัญญาณการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก โดยเกิดจากฮอร์โมนตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ของคุณแม่ ซึ่งอาการหนักเบามักจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจจะไม่มีอาการ แต่ในบางรายก็มีอาการแพ้เกือบตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์เลยทีเดียวอาการแพ้ท้องโดยทั่วไป สาเหตุ และ ปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุและกลไกของอาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด มีหลายทฤษฎีที่กล่าวถึง ในปัจจุบันเชื่อเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน(hormonal stimulus), การปรับตัวของหญิงตั้งครรภ์(evolutionary adaptation) และ ปัจจัยทางด้นจิตใจ(psychologic predisposition) 


อาการแพ้ท้อง

อาการหลักของการแพ้ท้องคือ “รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน” ส่วนใหญ่จะเป็นตอนลืมตามาในตอนเช้า หรือจะเป็นหนักตอนที่ท้องว่าง อาการเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ตัวอย่างอาการป่วยหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

  • รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน  จะรู้สึกอึดอัดท้องและหน้าอกมากจนอาเจียนออกมา เมื่ออาเจียนตอนท้องว่างและไม่มีอะไรออกมา จะรู้สึกทรมานมาก บางคนจะมีอาการที่เรียกว่า “แพ้ท้องจนต้องกิน” หากไม่มีอะไรในปากตลอดจะรู้สึกคลื่นไส้
  • รู้สึกไวต่อกลิ่น อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติไม่มั่นคง อาจจะรู้สึกไม่สบายทันทีเมื่อได้กลิ่นเหม็นจากสิ่งที่ปกติไม่รู้สึกเหม็น หรือรู้สึกหอมมากกับบางสิ่ง เช่น กลิ่นหุงข้าว กลิ่นไอน้ำจากของต้ม
  • ความชอบของกินเปลี่ยนไป จู่ ๆ ก็ไม่สามารถกินของที่เคยชอบได้ และบางครั้งก็อยากกินของที่ไม่เคยชอบอย่างมาก อยากทานของแปลกที่ไม่เคยทาน หรืออยากทานของที่ชอบมากกว่าปกติ
  • รู้สึกง่วงนอน อาจจะรู้สึกร่างกายเมื่อยล้า นอนเท่าไรก็ไม่หายง่วงนอน
  • รู้สึกหงุดหงิด และปวดหัว  พบว่ามีหลายคนที่รู้สึกปวดหัวและหงุดหงิดแบบปวดประจำเดือนในช่วงที่แพ้ท้อง
  • อารมณ์แปรปรวน เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจทำให้อารมณ์แปรปรวนไปตามฮอร์โมนด้วยนั่นเอง
  • คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ พบได้บ่อยในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มีอาการคล้ายกับอาการเมารถ หรือเมาเรือ
  • ท้องอืดเหมือนอาหารไม่ย่อย
  • กรดไหลย้อน
  • อ่อนเพลีย หน้ามืด
  • เรอเปรี้ยว
  • จุกแน่นลิ้นปี่
  • ปัสสาวะ เข้าห้องน้ำบ่อย เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ ไปกระตุ้นให้มีการปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • หิวบ่อย ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่มักจะกินเยอะกว่าปกติ เพราะต้องการพลังงานไปให้ร่างกายของคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วย จึงหิวบ่อย ต้องการพลังงานมากกว่าปกตินั่นเอง

อาการแพ้ท้องเช่นไรจึงเรียกว่าแพ้มาก หรือควรต้องพบสูตินรีแพทย์

การแพ้ท้องรุนแรงหรือแพ้ท้องหนัก คือ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง มักเกิดในช่วง 9 – 13 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการจะไม่หายง่าย ๆ เหมือนการแพ้ท้องทั่วไป ซึ่งภาวะแพ้ท้องรุนแรงนั้น อาจจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทานอาหาร หรือแม้แต่เครื่องดื่มก็ไม่สามารถทานได้ จนทำให้เกิดความเสี่ยงขาดสารอาหาร หน้ามืด เป็นลม ปัสสาวะน้อย ถึงขั้นช็อคและอาเจียนเป็นเลือดได้ ซึ่งก็มีความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการแพ้ท้องรุนแรงจึงควรไปพบบแพทย์ทันที เพื่อลดความเสี่ยงด้วยนั่นเอง

อาการแพ้ท้องรุนแรง

อาการแพ้ท้องรุนแรงนั้น แนะนำให้คุณพ่อ และคุณแม่ตั้งครรภ์สังเกตอาการและควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีที่มีอาการดังต่อไปนี้ เพื่อประเมินความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ พร้อมรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมตามอาการ


วิธีการรับมือกับอาการแพ้ท้อง

วิธีการรับมือกับอาการแพ้ท้อง รวมถึงการป้องกันอาการแพ้ท้องรุนแรง โดยปกติแล้วอาการแพ้ท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นจะหายได้เองในสัปดาห์ที่ 14 ของการตั้งครรภ์ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์บางท่านก็อาจจะมีอาการแพ้ยาวไปจนถึงใกล้คลอดเลยก็เป็นได้ ดังนั้นในช่วงการแพ้ท้องแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทำตามดังต่อไปนี้ เพื่อลดการแพ้ท้อง และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้ท้องรุนแรงด้วย 

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสบายมากขึ้น แต่ไม่ควรนอนมากเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อและน้ำหนักตัวได้
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ แนะนำให้ดื่มน้ำก่อนหรือหลังอาหาร 30 นาที และจิบบ่อย ๆ ในระหว่างวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะขาดน้ำจากการคลื่นไส้ อาเจียนด้วยนั่นเอง
  •  หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด อาหารมัน และอาหารฤทธิ์ร้อน เพราะอาจไปกระตุ้นให้เกิดการแพ้ท้องได้ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวเหนียว กะทิ มะพร้าว หรืออาหารที่มีเครื่องเทศมาก ก็ควรเลี่ยงเพราะจะทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่นได้ง่าย
  • รับประทานอาการที่มีรสจืด อย่างเช่น โจ๊ก กล้วยสุก หรืออาหารที่มีฤทธิ์เย็น อย่าง แตงโม แก้วมังกร เป็นต้น

หากมีอาการมากขนาดนี้ ขอให้พบแพทย์

ถึงจะรู้สึกว่าแพ้ท้องหนัก แต่หากสามารถกินอาหารได้แม้ว่าจะไม่สม่ำเสมอ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ถือว่าไม่เป็นปัญหา แต่หากมีสภาพรุนแรงที่เรียกว่า “ภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรง (hyperemesis gravidarum)” ดังที่ระบุไว้ด้านล่างนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และลูกได้ ขอให้ไปพบแพทย์

  • อยู่ในภาวะขาดน้ำเนื่องจากอาเจียนหลายครั้งตลอดทั้งวัน
  • แทบจะกินไม่ได้เลยเป็นเวลาหลายวัน
  • น้ำหนักลดลง 5 กิโลกรัม จากก่อนตั้งครรภ์
  • รู้สึกหมดแรงและวิงเวียน

วิธีการรักษา อาจจะเติมน้ำหรือสารอาหาร หรือให้เป็นสารวิตามินที่มีกรดโฟลิกเป็นหลัก และบางกรณีอาจจะให้สารกล่อมประสาทหรือสารระงับการอาเจียนทางเส้นเลือด สำหรับอาการป่วย มีทั้งกรณีที่ต้องไปพบแพทย์ตามกำหนดเป็นระยะและกรณีที่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลนอกจากนี้ กรณีที่ไม่มีความอยากอาหารเนื่องจากแพ้ท้องติดต่อกัน แม้จะเป็นช่วงหลังไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อาจจะส่งผลกระทบต่อลูกได้

  • กรณีที่แพ้ไม่มาก แก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน โดยรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เลี่ยงของทอด ของมัน ของที่มีกลิ่นแรงๆ เน้นอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการครบ 5หมู่ แบ่งการรับประทานอาหารเป็นมื้อย่อย และรับประทานในปริมาณครั้งละน้อยๆ จำนวนมื้อที่บ่อยขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับอาหารอย่างพอเพียง สามารถจิบน้ำขิงอุ่นๆ หรือน้ำผลไม้คั้นสดร่วมด้วย
  • กรณีที่แพ้มาก ก่อนอื่นต้องบอกว่าระดับการแพ้ท้องไม่มีเกณฑ์วัดที่ชัดเจน เป็นการพิจารณาจากอาการและสภาพร่างกายของคุณแม่เป็นหลัก ซึ่งแต่ละท่านจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งสูตินรีแพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการ ส่วนใหญ่กรณีที่มีอาการแพ้ท้องมากจนกระทั่งไม่สามารถรับประทานอาหารได้ อาเจียนตลอดเวลา เพียงเท่านี้ก็เป็นสัญญาณที่จะบอกได้ว่า คุณพ่อควรพาคุณแม่ไปพบสูตินรีแพทย์ที่ฝากครรภ์ได้แล้ว ในเบื้องต้นคุณแม่อาจได้รับยาแก้แพ้ช่วยบรรเทาอาการอาเจียน ยาช่วยย่อย ยาขับลม แต่สำหรับกรณีที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงอาเจียนมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ร่างกายจะขาดอาหาร อ่อนเพลีย พักผ่อนได้น้อย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ คุณแม่จึงอาจต้องนอนพักเพื่อให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล เป็นการป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ และเพื่อตรวจพิจารณาการแพ้ท้องที่เป็นมากเพิ่มเติมอย่างละเอียด

บรรเทาอาการทางจิตใจ

สิ่งที่ควรให้ความสนใจจึงไม่ใช่พุ่งเป้าไปว่าท้องแล้วจะแพ้หรือไม่ แต่ควรทำจิตใจให้สบาย ไม่คิดกังวล หรือเครียดกับเรื่องของลูกน้อยในครรภ์ และเรื่องชีวิตประจำวันในด้านต่างๆ เพราะคาดว่าจิตใจมีส่วนสำคัญประการหนึ่งที่เชื่อมโยงกับการแพ้ท้อง การเริ่มต้นตั้งครรภ์ที่ดีคุณแม่ควรให้ความสนใจการฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ให้ความสำคัญกับโภชนาการอาหารที่จะรับประทานในแต่ละวัน ดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ อย่างเพียงพอ ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง เพราะจะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่าย นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และคุณลูกในครรภ์

หากคุณแม่ท่านใดต้องเผชิญกับอาการแพ้ท้อง ขอให้มองในมุมบวกว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คุณแม่หลายๆ ท่านก็ต้องเผชิญอาการเหล่านี้ ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการแพ้ที่มากผิดปกติ เพียงเท่านี้การตั้งครรภ์ของคุณก็จะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของสองสายใยที่ผูกพันรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในทุกๆ วัน


"ให้ทุกการตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่สุขใจ ดูแลโดยสูตินรีแพทย์ทุกขั้นตอน"

โทรหาเราเพื่อรับคำปรึกษา โทร.1254 กด 2 

ชั้น 3 แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลศรีสวรรค์ กรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์  

ข้อมูลโดย
นพ.จงรักษ์ เทพสุวรรณ์
นพ.จงรักษ์ เทพสุวรรณ์
แพทย์เฉพาะทางชำนาญการด้าน
อนุสาขาการผ่าตัดผ่านกล้องรักษาทางนรีเวชและเวชศาสตร์ทางเพศ
แพทย์ประจำแผนก สูตินรีเวช
นพ.จงรักษ์ เทพสุวรรณ์
นพ.จงรักษ์ เทพสุวรรณ์
อนุสาขาการผ่าตัดผ่านกล้องรักษาทางนรีเวชและเวชศาสตร์ทางเพศ
นพ.ชนินทร์ มิตินันท์วงศ์
นพ.ชนินทร์ มิตินันท์วงศ์
อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
พญ.เพชรรัตน์ เจนคุ้มวงศ์
พญ.เพชรรัตน์ เจนคุ้มวงศ์
สาขาสูตินรีเวช อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
พญ.ชนิตา เลิศอรุณชัย
พญ.ชนิตา เลิศอรุณชัย
อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
ผศ.ดร.นพ.มรุต ญาณารณพ
ผศ.ดร.นพ.มรุต ญาณารณพ
อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวชและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
พญ.ณีรานุช จอกแก้ว
พญ.ณีรานุช จอกแก้ว
เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
พญ.อริณภรณ์ อิ่มฤทัยเจริญโชค
พญ.อริณภรณ์ อิ่มฤทัยเจริญโชค
อนุสาขาผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและระบบทางเดินปัสสาวะสตรี
พญ.รวีวรรณ พรมศิลา
พญ.รวีวรรณ พรมศิลา
สูตินรีเวชวิทยา มะเร็งวิทยานรีเวช
พญ.ปิ่นพธู แสงโชติ
พญ.ปิ่นพธู แสงโชติ
อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

บทความทางการแพทย์

Title Line
หน้าปกบทความนอนไม่หลับแค่เครียด หรือร่างกายกำลังรวน
ตรวจสุขภาพ
นอนไม่หลับ...แค่เครียด หรือร่างกายกำลังรวน

อาการนอนไม่หลับอาจไม่ใช่แค่ความเครียด แต่อาจเป็นสัญญาณของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ลำไส้เสียสมดุล หรือระบบประสาทอักเสบ รู้เท่าทันแนวทางฟื้นฟูการนอนในมุมมองอายุรวัฒน์

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
หน้าปกบทความ 4 ฮอร์โมนสำคัญที่เสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้น และส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด
ตรวจสุขภาพ
4 ฮอร์โมนสำคัญที่เสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้น และส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

รู้จัก 4 ฮอร์โมนที่ลดลงตามวัย เช่น เมลาโทนิน เทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน และฮอร์โมนการเจริญเติบโต ที่มีผลต่อการนอน ความแข็งแรง และสุขภาพโดยรวม

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
หน้าปกบทความ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เรื่องสำคัญที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
ตรวจสุขภาพ
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เรื่องสำคัญที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

มะเร็งเต้านม เป็นภัยเงียบที่ผู้หญิงไทยไม่ควรมองข้าม การตรวจคัดกรองเป็นประจำด้วยแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสรักษาหายได้สูง

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
facebook messenger iconline icon
โรงพยาบาลศรีสวรรค์