โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

วันที่เผยแพร่: 20 มกราคม 2568

หน้าปกบทความ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke): สัญญาณเตือนและวิธีป้องกันที่คุณควรรู้

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกว่า Stroke คือหนึ่งในโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทย เกิดจาก สมองขาดเลือด หรือ เลือดออกในสมอง ส่งผลให้เกิดอาการร้ายแรง เช่น อัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต หากไม่ได้รับการรักอย่างทันท่วงที อาการของโรคนี้สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการเฝ้าระวัง และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต


อาการที่ควรระวัง: ตรวจสอบตัวเองด้วย “FAST”

การสังเกตุอาการเป็นกุญแจสำคัญ:

  • F (Face): ใบหน้าเบี้ยวขณะยิ้ม
  • A (Arms): แขนขาข้างหนึ่งแรง
  • S (Speech): พูดไม่ชัดเจน, นึกคำพูดไม่ออก
  • T (Time): พบแพทย์ทันทีเมื่อเกิดอาการเหล่านี้

อาการโรคหลอดเลือดสมองที่ควรเฝ้าระวังเพิ่มเติม

  • สูญเสียการทรงตัวอย่างฉับพลัน
  • เวียนศีรษะรุนแรง
  • มองเห็นภาพไม่ชัดในตาข้างใดข้างหนึ่ง, มองเห็นภาพซ้อน

วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

  • ลดความดันโลหิตสูง: ควบคุมด้วยการออกกำลังกาย และลดโซเดียมในอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์: ลดความเสี่ยงหลอดเลือดตีบ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี: เพื่อตรวจจับความเสี่ยงในระยะเริ่มต้น
  • งดบุหรี่และแอลกอฮอล์: ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง: รักษาทันท่วงที ลดความเสี่ยง

หากเกิดอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาที่เร็วที่สุดคือ:

  • ใช้ยาสลายลิ่มเลือด (ในกรณีสมองขาดเลือด): ควรเริ่มภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ
  • การผ่าตัดสมอง (ในกรณีเลือดออกในสมอง): เพื่อหยุดเลือดออก และลดแรงดันในสมอง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (FAQ)

Q1: ใครมีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดสมอง

คำตอบ: ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง หรือผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่

Q2: โรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อยพบได้หรือไม่?

คำตอบ: แม้ว่าจะพบได้น้อยกว่าในผู้สูงอายุ แต่ก็เป็นไปได้หากมีปัจจัยเสี่ยง เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด, อ้วน หรือพันธุกรรม


ตรวจสุขภาพสมอง และการตรวจระดับความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้ การดูแลตนเองตั้งแต่วันนี้จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงในระยะยาว

ข้อมูลโดย
พญ. กมลรัตน์ พลไวย์
พญ. กมลรัตน์ พลไวย์
แพทย์เฉพาะทางชำนาญการด้าน
อายุรศาสตร์ระบบประสาท
แพทย์ประจำแผนก สมองและระบบประสาท
พญ.ศิริกัญญา รุ่งเรือง
พญ.ศิริกัญญา รุ่งเรือง
อายุรแพทย์ อนุสาขาโรคระบบประสาท
นพ.วิศรุต นันทะสี
นพ.วิศรุต นันทะสี
อายุรแพทย์ อนุสาขาโรคระบบประสาท
พญ. กมลรัตน์ พลไวย์
พญ. กมลรัตน์ พลไวย์
อายุรศาสตร์ระบบประสาท

บทความทางการแพทย์

Title Line
หน้าปกบทความ ไตวายเฉียบพลัน VS ไตวายเรื้อรัง: เข้าใจง่ายในหนึ่งนาที
อายุรกรรม
ไตวายเฉียบพลัน vs ไตวายเรื้อรัง เข้าใจง่ายในหนึ่งนาที

รู้ทันความแตกต่างของไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง ทั้งสาเหตุ อาการ การรักษา และแนวทางการฟื้นตัว ที่สรุปมาให้อ่าน สามารถเข้าใจง่ายใน 1 นาที

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
หน้าปกบทความ ไข้หวัดใหญ่ อันตรายถึงชีวิต แต่ป้องกันได้
อายุรกรรม
ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี?

ไข้หวัดใหญ่ ไม่ใช่แค่ไข้ธรรมดา! เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว เรียนรู้ความแตกต่างของสายพันธุ์ วิธีป้องกัน และเหตุผลที่ควรฉีดวัคซีนทุกปี

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
รูปปกบทความ ตรวจให้ไว ป้องกันได้ ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก
สูตินรีเวช
เช็กให้ไว มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ อย่าปล่อยให้เสี่่ยง

"ป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ พร้อมรับคำแนะนำในการป้องกันและดูแลสุขภาพสำหรับผู้หญิงทุกคน"

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
facebook messenger iconline icon
โรงพยาบาลศรีสวรรค์