อ้วนแล้วไง? ผลกระทบของโรคอ้วนที่หลายคนมองข้าม

วันที่เผยแพร่: 4 มีนาคม 2568

หน้าปกบทความ อ้วนแล้วไง? ผลกระทบของโรคอ้วนที่หลายคนมองข้าม

ผลกระทบของโรคอ้วนที่หลายคนมองข้าม

โรคอ้วนไม่ใช่แค่เรื่องของรูปร่าง แต่เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่หลายคนคิด การมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่สูงเกินไป อาจทำให้เสี่ยงต่อโรคร้ายแรงที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ในบทความนี้ เราจะพาคุณมารู้จัก 5 โรคร้ายจากโรคอ้วน ที่ควรระวัง พร้อมแนวทางป้องกันและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง


5 โรคร้ายจากโรคอ้วน เสี่ยงอันตรายกว่าที่คิด

1. เบาหวานชนิดที่ 2

โรคอ้วนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไปทำให้ร่างกาย ดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หากไม่ได้รับการควบคุม อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคไต โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีป้องกัน: ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ


2. โรคหัวใจและหลอดเลือด

ไขมันสะสมในหลอดเลือด เป็นอีกหนึ่งอันตรายที่มาพร้อมกับโรคอ้วน ทำให้หลอดเลือดตีบตัน หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อ หัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบ และภาวะหัวใจล้มเหลว

วิธีป้องกัน: ลดไขมันอิ่มตัว หลีกเลี่ยงอาหารทอด และเพิ่มการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ รือปั่นจักรยาน


3. ความดันโลหิตสูง

เมื่อน้ำหนักตัวมากขึ้น หลอดเลือดต้องรับแรงดันที่สูงขึ้น ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง และอาจนำไปสู่ โรคหลอดเลือดสมองแตก หรือไตวาย ได้

วิธีป้องกัน: ลดปริมาณเกลือในอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป และตรวจความดันโลหิตเป็นประจำ


4. ไขมันพอกตับ

โรคอ้วนทำให้ ไขมันสะสมในตับ ซึ่งอาจนำไปสู่ โรคตับอักเสบเรื้อรัง และตับแข็ง หากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา อาจกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด

วิธีป้องกัน: ควบคุมน้ำหนัก ลดการบริโภคน้ำตาลและแอลกอฮอล์


5. โรคข้อเข่าเสื่อม

น้ำหนักตัวที่มากเกินไป เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักเกินขีดจำกัด ส่งผลให้เกิด ข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อ และข้อติดขัด ทำให้การเคลื่อนไหวลำบากและคุณภาพชีวิตลดลง

วิธีป้องกัน: ลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายที่ช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อ เช่น ว่ายน้ำ หรือโยคะ เลี่ยงการนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ


โรคอ้วนป้องกันได้! ดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้

  • ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (เช็กค่า BMI)
  • เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ลดของหวาน อาหารแปรรูป และไขมันอิ่มตัว
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
  • ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต นอนหลับให้เพียงพอ ลดความเครียด และงดสูบบุหรี่

เช็ก BMI ของคุณวันนี้ ถ้าค่าเกินมาตรฐาน รีบดูแลตัวเองก่อนที่โรคร้ายจะถามหา

สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากตัวคุณ ดูแลน้ำหนักให้สมดุล ปรับพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกาย และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อป้องกันโรคอ้วนและความเสี่ยงที่อาจตามมา หรือหากใครที่กำลังประสบปัญหาเรื่องโรคอ้วน สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาโรคอ้วนได้อย่างตรงจุด

ข้อมูลโดย
พญ.รัชพร ทวีรุจจนะ
พญ.รัชพร ทวีรุจจนะ
แพทย์เฉพาะทางชำนาญการด้าน
อายุรแพทย์ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิซึม
แพทย์ประจำแผนก เบาหวาน ต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
พญ.รัชพร ทวีรุจจนะ
พญ.รัชพร ทวีรุจจนะ
อายุรแพทย์ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิซึม

บทความทางการแพทย์

Title Line
หน้าปกบทความ ไตวายเฉียบพลัน VS ไตวายเรื้อรัง: เข้าใจง่ายในหนึ่งนาที
อายุรกรรม
ไตวายเฉียบพลัน vs ไตวายเรื้อรัง เข้าใจง่ายในหนึ่งนาที

รู้ทันความแตกต่างของไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง ทั้งสาเหตุ อาการ การรักษา และแนวทางการฟื้นตัว ที่สรุปมาให้อ่าน สามารถเข้าใจง่ายใน 1 นาที

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
หน้าปกบทความ ไข้หวัดใหญ่ อันตรายถึงชีวิต แต่ป้องกันได้
อายุรกรรม
ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี?

ไข้หวัดใหญ่ ไม่ใช่แค่ไข้ธรรมดา! เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว เรียนรู้ความแตกต่างของสายพันธุ์ วิธีป้องกัน และเหตุผลที่ควรฉีดวัคซีนทุกปี

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
รูปปกบทความ ตรวจให้ไว ป้องกันได้ ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก
สูตินรีเวช
เช็กให้ไว มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ อย่าปล่อยให้เสี่่ยง

"ป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ พร้อมรับคำแนะนำในการป้องกันและดูแลสุขภาพสำหรับผู้หญิงทุกคน"

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
facebook messenger iconline icon
โรงพยาบาลศรีสวรรค์