นอนไม่หลับ...แค่เครียด หรือร่างกายกำลังรวน

วันที่เผยแพร่: 17 มิถุนายน 2568

หน้าปกบทความนอนไม่หลับแค่เครียด หรือร่างกายกำลังรวน

นอนไม่หลับ...แค่เครียด หรือร่างกายกำลังรวน?

          อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) คือภาวะที่บุคคลมีปัญหาในการนอนหลับ ทั้งในแง่ของ การเริ่มต้นนอนหลับ (Sleep onset), การคงสภาพการหลับ (Sleep maintenance) และ การตื่นก่อนเวลาโดยไม่สามารถกลับไปนอนได้อีก (Early morning awakening) ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพในระยะยาว

สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ
  • ความเครียดและความวิตกกังวล  ฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงเกินไปในเวลากลางคืน
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมน  ระดับเมลาโทนิน (Melatonin), เซโรโทนิน (Serotonin), และ GABA ต่ำ
  • ภาวะดื้ออินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดไม่สมดุล  อาจทำให้ตื่นกลางดึก
  • ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้และไมโครไบโอม (Gut microbiome dysbiosis)  ส่งผลต่อระดับสารสื่อประสาทที่ช่วยให้นอนหลับ
  • การใช้สารกระตุ้น (Caffeine, Alcohol, Nicotine)
  • แสงสีฟ้าจากหน้าจอ (Blue Light Exposure)  รบกวนการผลิตเมลาโทนิน
  • ภาวะการอักเสบเรื้อรังและความผิดปกติของไมโทคอนเดรีย  ทำให้ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลกระทบของการนอนไม่หลับต่อสุขภาพ

  • ภูมิคุ้มกันลดลง  เสี่ยงต่อโรคติดเชื้อและโรคเรื้อรัง
  • สมองเสื่อมเร็วขึ้น  เพิ่มความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม
  • ฮอร์โมนแปรปรวน  กระทบต่อฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนไทรอยด์ และฮอร์โมนคอร์ติซอล
  • ระบบเผาผลาญผิดปกติ  เสี่ยงโรคอ้วน เบาหวาน และโรคหัวใจ
  • อายุรวัฒน์ลดลง  การนอนหลับเป็นกระบวนการสำคัญของการซ่อมแซมเซลล์ 

            อาการนอนไม่หลับไม่ใช่แค่ปัญหาเล็กน้อย แต่เป็นตัวเร่งให้เกิดโรคเรื้อรังและกระทบต่อกระบวนการอายุรวัฒน์ หากต้องการแก้ไขที่ต้นเหตุ ควรประเมินภาวะฮอร์โมน ไมโครไบโอม ระบบเผาผลาญ และภาวะอักเสบในร่างกาย



ข้อมูลโดย
นพ.นรินทร สุรสินธน
นพ.นรินทร สุรสินธน
แพทย์เฉพาะทางชำนาญการด้าน
แพทย์ประจำแผนก ตรวจสุขภาพ
พญ.ญาณิศา สุริยะบรรเทิง
พญ.ญาณิศา สุริยะบรรเทิง
สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
นพ.นฤพนธ์ มนต์ไตรเวศย์
นพ.นฤพนธ์ มนต์ไตรเวศย์
สาขา อายุรศาสตร์
นพ.นรินทร สุรสินธน
นพ.นรินทร สุรสินธน
นพ.ชณัฐ ปิยพงศ์โกวิท
นพ.ชณัฐ ปิยพงศ์โกวิท
พญ.คัทลียา จิรวิมุต
พญ.คัทลียา จิรวิมุต
นพ.นิธิวัฒน์ ศรีกาญจนวัชร
นพ.นิธิวัฒน์ ศรีกาญจนวัชร

บทความทางการแพทย์

Title Line
หน้าปกบทความ 4 ฮอร์โมนสำคัญที่เสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้น และส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด
ตรวจสุขภาพ
4 ฮอร์โมนสำคัญที่เสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้น และส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

รู้จัก 4 ฮอร์โมนที่ลดลงตามวัย เช่น เมลาโทนิน เทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน และฮอร์โมนการเจริญเติบโต ที่มีผลต่อการนอน ความแข็งแรง และสุขภาพโดยรวม

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
หน้าปกบทความ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เรื่องสำคัญที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
ตรวจสุขภาพ
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เรื่องสำคัญที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

มะเร็งเต้านม เป็นภัยเงียบที่ผู้หญิงไทยไม่ควรมองข้าม การตรวจคัดกรองเป็นประจำด้วยแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสรักษาหายได้สูง

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
หน้าปกบทความ การอักเสบเรื้อรัง จุดเริ่มต้นเงียบ ๆ ของโรคมะเร็งที่หลายคนไม่รู้ตัว
ตรวจสุขภาพ
การอักเสบเรื้อรัง จุดเริ่มต้นเงียบ ๆ ของโรคมะเร็งที่หลายคนไม่รู้ตัว

การอักเสบเรื้อรังอาจเป็นต้นตอสำคัญของโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง รู้ทันกระบวนการอักเสบในร่างกาย ปัจจัยเสี่ยง และวิธีลดความเสี่ยงก่อนสายเกินไป

สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์
facebook messenger iconline icon
สาขากรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์