โรคไข้เลือดออก:โรคร้ายที่อาจอยู่รอบตัวคุณ

วันที่เผยแพร่: 31 มกราคม 2568

รูปยุงตอมคนป่วยไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ในพื้นที่เขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ยังไม่มียารักษาที่จำเพาะต่อโรค โรคนี้มีทั้งแบบไม่รุนแรงและรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้


อาการของไข้เลือดออก: สัญญาณที่ต้องระวัง 

  • ระยะแรกอาการของไข้เลือดออกมักเริ่มด้วยไข้สูงลอย (38-40 องศาเซลเซียส) ติดต่อกัน 2-7 วัน ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
  • ในระยะที่สองเป็นระยะที่ไข้ลง มีเกล็ดเลือดต่ำ ระยะนี้เป็นระยะที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น เลือดออกตามไรฟัน ตับอักเสบ ไตผิดปกติ บวมน้ำ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดอย่างภาวะช็อก(Dengue shock syndrome) ระยะที่สองนี้จึงเรียกว่า “ระยะวิกฤติ” โอกาาสเกิดภาวะรุนแรงในระยะนี้จะเพิ่มขึ้นหากเป็นการติดเชื้อครั้งที่ 2 ขึ้นไป ระยะนี้มีช่วงเวลาอยู่ 48-72 ชั่วโมง
  • ระยะฟื้นตัว คือช่วงที่พ้นจากระยะวิกฤติ จะเริ่มมีความอยากอาหาร อาการบวมน้ำลดลง ร่างกายค่อยๆฟื้นฟู อาเกิดผื่นแดงคนในระยะนี้ได้

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของไข้เลือดออก: เมื่อไข้เลือดออกไม่ใช่แค่ไข้
ในบางกรณี โรคไข้เลือดออกอาจรุนแรงขึ้นและนำไปสู่ ภาวะไข้เลือดออกชนิดรุนแรง (Severe Dengue) ซึ่งอาจทำให้เกิด:

  • ภาวะช็อก (Dengue Shock Syndrome - DSS)
  • ภาวะอวัยวะล้มเหลว เช่น ตับ ไต หัวใจ
  • เลือดออกภายในร่างกายที่รุนแรง

ภาวะเหล่านี้ทำให้ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็ว อวัยวะล้มเหลว และเสียชีวิตได้ การเฝ้าระวังอาการและเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ  


การป้องกันไข้เลือดออก: เริ่มต้นที่ตัวเรา  

การป้องกันไข้เลือดออกเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ภาชนะที่มีน้ำขัง ใช้ยาทากันยุง สวมเสื้อผ้ามิดชิด และติดมุ้งลวดในบ้าน นอกจากนี้ การป้องกันด้วยวัคซีนก็เป็นอีกทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะวัคซีนชนิดใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ประสิทธิภาพมากขึ้น  



วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก: ทางเลือกเพื่อความปลอดภัย

วัคซีนไข้เลือดออก หรือ วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเดงกี เป็นวัคซีนชนิดเชื้ออ่อนแรง สายพันธุ์ DEN-1, 2, 3 และ 4 (ทุกสายพันธุ์ที่ได้รับการยืนยันในปัจจุบัน) ป้องกันการติดเชื้อประมาณ 80% และลดโอกาสต้องนอนโรงพยาบาลจากการติดเชื้อประมาณ 90% สามารถฉีดในผู้ที่อายุ 4-60 ปี ฉีด 2 ครั้งห่างกัน 3 เดือน หลังฉีดอาจมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คล้ายเป็นไข้ หลังฉัดแนะนำให้พักผ่อน งดการออกกำลังกาย เลี่ยงแอลกอฮอล์ และการเดินทาง ไข้เลือดออกอาจดูน่ากลัว แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยความรู้และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เริ่มต้นจากกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ป้องกันตัวเองจากการถูกกัด และวัคซีนก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักปลอดภัยจากโรคนี้  


คำถามพี่พบบ่อย (FAQ)

Q1: ฉีดวัคซีนแล้วจะแพ้มั้ย?

คำตอบ: การแพ้วัคซีน เป็นความเสี่ยงรายบุคคลที่เกิดการแพ้ต่อสารประกอบในวัคซีน เมื่อฉีดแล้วพบการการผิดปกติแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทันที และหากพบว่าแพ้วัคซีนในครั้งแรก ก็เป็นข้อห้ามในการฉีดในอนาคต อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยกว่าแต่ไม่ไช่อาการแพ้ เป็นปฏิกิริยาปกติของร่างกายต่อวัคซีน เช่น อาการไข้และปวดกล้ามเนื้อ พบได้ประมาณ 10% และอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเองใน 2-3 วัน

Q2: มีโรคประจำตัวฉีดได้หรือไม่?

คำตอบ:

  • วัคซีนไข้เลือดออก สามารถฉีดได้ ในผู้ที่อายุ 4-60 ปี
  • วัคซีนไข้เลือดออก ห้ามฉีด ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่กำลังเจ็บป่วยรุนแรง มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ที่รับยากดภูมิคุมกัน

Q3:เคยป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้ว จำเป็นต้องฉีดวันซีนอยู่หรือไม่?

คำตอบ: ยังจำเป็น ข้อมูลในปัจจุบันพบว่าสายพันธุ์ของไวรัสเดงกีมี 4 สายพันธุ์ การติดเชื้อไม่สามารถเกิดภูมิคุ้มกันได้ทั้งหมด และยังพบการการติดเชื้อซ้ำทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากครั้งก่อน ดังนั้นการฉีดวัคซีนจึงมีประโยชน์ทั้งผู้ที่เคยติดเชื้อและยังไม่เคยติดเชื้อ และการไม่ติดเชื้อเลยตั้งแต่ครั้งแรกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ผู้ป่วยไข้เลือดออก แนะนำให้รอ 6 เดือนหลังจากการติดเชื้อก่อนรับการฉีดวัคซีน


หมายเหตุ: ข้อมูล 'วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก: ทางเลือกเพื่อความปลอดภัย' เป็นข้อมูลของวัคซีน QDENGA® (Dengue Tetravalent Vaccine [Live, Attenuated])

ที่มา: - https://www.ema.europa.eu/en/medicines/human/EPAR/qdenga

- https://www.takeda.com/newsroom/newsreleases/2022/takedas-qdenga-dengue-tetravalent-vaccine-live-attenuated-approved-for-use-in-european-union/



ข้อมูลโดย
นพ.จีรยุทธ ศิลปจิตต์
นพ.จีรยุทธ ศิลปจิตต์
แพทย์เฉพาะทางชำนาญการด้าน
เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice)
แพทย์ประจำแผนก ตรวจสุขภาพ
นพ.วศิน ศิระธนาพันธ์
นพ.วศิน ศิระธนาพันธ์
เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice)
พญ.ณัฐปภัสร์  บุญเกตุ
พญ.ณัฐปภัสร์ บุญเกตุ
เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice)
นพ.ศุภวิชญ์ เพ็งมีศรี
นพ.ศุภวิชญ์ เพ็งมีศรี
เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice)
นพ.อภิรัฐ อุ่นใจ
นพ.อภิรัฐ อุ่นใจ
เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice)
นพ.สันสกฤต วิภาศรีนิมิต
นพ.สันสกฤต วิภาศรีนิมิต
นพ.ทีฆทัศน์ หัวไผ่
นพ.ทีฆทัศน์ หัวไผ่
นพ.จีรยุทธ ศิลปจิตต์
นพ.จีรยุทธ ศิลปจิตต์
เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice)
นพ.เมธาวี ปุยบัณฑิต
นพ.เมธาวี ปุยบัณฑิต
เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ ( Preventive Medicine, Occupational Medicine )
นพ.ธีรภัทร ตรีเนตร
นพ.ธีรภัทร ตรีเนตร
เวชศาสตร์ฟื้นฟู ( Rehabilitation Medicine )

บทความทางการแพทย์

Title Line
Knee and hip surgery
กระดูกและข้อ
คืนความสุขให้ทุกก้าว ผ่าตัดข้อเข่าข้อสะโพก

ลดอาการปวดจากข้อเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม เพิ่มคุณภาพชีวิต เคลื่อนไหวสะดวก ฟื้นตัวเร็ว โดยทีมแพทย์เฉพาะทาง

สาขานครสวรรค์
ผู้หญิงหนาว
ตรวจสุขภาพ
เที่ยวสบายใจ ไร้กังวล เสริมภูมิป้องกันไข้หวัดใหญ่ก่อนออกเดินทาง

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยระหว่างทริปพักผ่อนที่รอคอย

สาขานครสวรรค์
ผู้หญิงคิด
สูตินรีเวช
PCOS: ภาวะโพลีคิสติกรังไข่ที่ทุกสาวต้องเรียนรู้

เป็นปัญหาทางสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนและการทำงานของรังไข่ โดยมีผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ

สาขานครสวรรค์
facebook messenger iconline icon
โรงพยาบาลศรีสวรรค์