การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ: ทางเลือกการรักษาโรคอ้วนที่ได้ผล

การเข้าชม: 3 ครั้ง

วันที่เผยแพร่: 14 กุมภาพันธ์ 2568

หน้าปกบทความ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ ทางเลือกการรักษาโรคอ้วนที่ได้ผล

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ ทางเลือกการรักษาโรคอ้วนที่ได้ผล
การผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วน หรือ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร (Bariatric Surgery) คือการผ่าตัด ลดขนาดกระเพาะอาหารและปรับเปลี่ยนระบบเผาผลาญ เพื่อให้รับประทานอาหารได้น้อยลงและมีน้ำหนักลดลงอย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะ โรคอ้วนรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยการผ่าตัดนี้จะช่วย


โรคอ้วนคืออะไร?

โรคอ้วน (Obesity) เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โรคอ้วนมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย พันธุกรรม รวมถึงภาวะทางสุขภาพบางประการ เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมน การเผาผลาญที่ผิดปกติ หรือการใช้ยาบางชนิด โรคอ้วนถูกวินิจฉัยโดยใช้ ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ซึ่งคำนวณจากน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง โดยเกณฑ์ของ BMI มีดังนี้:

  • น้อยกว่า 18.5 – น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  • 18.5 - 22.9 – น้ำหนักปกติ
  • 23 - 24.9 – น้ำหนักเกิน
  • 25 - 29.9 – โรคอ้วนระดับ 1
  • 30 ขึ้นไป – โรคอ้วนระดับ 2 หรืออ้วนมาก

ใครเหมาะกับการผ่าตัดลดความอ้วน?

  • ดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 37.5 หรือ มากกว่า 32.5 ร่วมกับโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน
  • พยายามลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
  • ไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ เช่น ภาวะทางจิตเวชที่ยังไม่สามารถควบคุมได้

ข้อดีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ

  • ลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ลดความเสี่ยงจากโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
  • ปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความมั่นใจ
  • เพิ่มโอกาสการมีบุตรในผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่ (PCOS)

ข้อควรระวัง

  • อาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการท้องเสียจากการดูดซึมอาหารผิดปกติ
  • ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หากไม่ปฏิบัติตามอาจทำให้น้ำหนักกลับมาเพิ่มขึ้นได้
  • มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 12 แคลเซียม และธาตุเหล็ก อาจต้องมีการเสริมวิตามินตามแพทย์แนะนำ

กระบวนการผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วน

การผ่าตัดนี้ไม่ใช่แค่การลดน้ำหนัก แต่เป็น การรักษาเพื่อสุขภาพในระยะยาว โดยต้องมีการดูแลทั้งก่อนและหลังผ่าตัดโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หากต้องการเข้ารับการ ผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วน (Bariatric Surgery) ผู้ป่วยจะต้องผ่านกระบวนการที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจว่าการผ่าตัดปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การประเมินก่อนผ่าตัด, การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด, และ การดูแลหลังผ่าตัด

1. การประเมินก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจประเมินโดยทีมแพทย์เพื่อความปลอดภัย โดยจะต้องผ่านขั้นตอนดังนี้:

  • ตรวจสุขภาพทั่วไป: วัดดัชนีมวลกาย (BMI), ซักประวัติสุขภาพและโรคประจำตัว, ตรวจสอบภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ: ตรวจวิตามินในเลือด (CBC, ไขมัน, น้ำตาล, ฮอร์โมนไทรอยด์, ค่าไต), ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG), ตรวจเอกซเรย์ปอด, ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง (ดูภาวะไขมันพอกตับ นิ่วในถุงน้ำดี)
  • ตรวจพิเศษ: ตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร, ตรวจ Sleep test, Inbody (body composition)
  • พบแพทย์แต่ละสาขาเพื่อประเมินก่อนผ่าตัด – อายุรแพทย์โภชนบำบัด ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ปอดและทางเดินหายใจ อายุรแพทย์โรคหัวใจอายุรแพทย์ทางเดินอาหารและตับ จิตแพทย์ และอายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อ กรณีเป็นเบาหวาน


2. การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด  หลังจากผ่านการประเมินแล้ว จะต้องเตรียมตัวตามคำแนะนำของทีมแพทย์เพื่อให้การผ่าตัดปลอดภัยและลดภาวะแทรกซ้อน

  • ควบคุมน้ำหนักก่อนผ่าตัด ลดน้ำหนักก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 5 กก ปรับพฤติกรรมการกิน ลดอาหารมันและหวาน อาจต้องควบคุมแคลอรีให้ต่ำลงเพื่อให้ตับหดตัว ลดความเสี่ยงในการผ่าตัด
  • งดบุหรี่และแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 6 สัปดาห์ ก่อนผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลหายช้า หรือปอดติดเชื้อ
  • หยุดยาบางชนิด ตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ปรับพฤติกรรมการกิน ฝึกกินอาหารปริมาณน้อย เคี้ยวให้ละเอียด งดน้ำอัดลม ของทอด อาหารแปรรูป
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ กรณีมีข้อบ่งชี้ โดยอายุรแพทย์โรคปอดก่อนผ่าตัด 6-8 สัปดาห์


3. การดูแลหลังผ่าตัด ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้การลดน้ำหนักเป็นไปอย่างปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

  • พักฟื้นในโรงพยาบาล ประมาณ 4 วัน (กรณีไม่มีภาวะแทรกซ้อน)
  • การรับประทานอาหารหลังผ่าตัดตามที่โรงพยาบาลเตรียมให้
  • ติดตามผลกับแพทย์  เพื่อตรวจสุขภาพและปรับแผนโภชนาการ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยรักษาน้ำหนักและสุขภาพที่ดี รับคำแนะนำโดยนักกายภาพบำบัด

วิธีการผ่าตัดกระเพาะลดความอ้วน

1.การผ่าตัด SLEEVE GASTRECTOMY

  • เป็นการตัดกระเพาะอาหารออกประมาณ 70-80%
  • ทำให้เหลือเป็นทรงหลอด ลดขนาดกระเพาะ ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง
  • ลดฮอร์โมนความหิว (Ghrelin) ช่วยควบคุมความอยากอาหาร

2.การผ่าตัด BYPASS กระเพาะอาหาร (GASTRIC BYPASS)

  • ลดขนาดกระเพาะและเปลี่ยนทางเดินอาหารบางส่วน
  • ทำให้อาหารดูดซึมแคลอรี่ได้น้อยลง
  • ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย

การตัดสินใจเลือกผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ

การตัดสินใจเลือกผ่าตัดลดขนาดกระเพาะเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยควรพูดคุยกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อประเมินความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ

ข้อมูลโดย
พญ.ชมพูนุช มานะธรรมสมบัติ
พญ.ชมพูนุช มานะธรรมสมบัติ
แพทย์เฉพาะทางชำนาญการด้าน
โภชนศาสตร์คลินิก ( Clinical Nutrition )
แพทย์ประจำแผนกอายุรกรรม
นพ.เกริกวิทย์ จันทร์ศุภฤกษ์
นพ.เกริกวิทย์ จันทร์ศุภฤกษ์
อายุรศาสตร์
พญ.ชัญญานุช วงศ์ทองมานะ
พญ.ชัญญานุช วงศ์ทองมานะ
นิติเวชศาสตร์ ( Forensic Medicine )
พญ.ปาณิสรา ดิษเจริญ
พญ.ปาณิสรา ดิษเจริญ
จิตเวชศาสตร์ ( Psychiatry )
พญ.ณัฐสุดา เบญจชินชัยกุล
พญ.ณัฐสุดา เบญจชินชัยกุล
อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร ( Gastroenterology )
พญ.ณัฐหทัย เขียวสนาน
พญ.ณัฐหทัย เขียวสนาน
อายุรศาสตร์ ( Internal Medicine )
พญ.กนกวรรณ อร่ามรุณ
พญ.กนกวรรณ อร่ามรุณ
อายุรศาสตร์ ( Internal Medicine )
นพ.ศุภวิชญ์ เพ็งมีศรี
นพ.ศุภวิชญ์ เพ็งมีศรี
เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice)
พญ.อภิรดา ทีฆอริยภาคย์
พญ.อภิรดา ทีฆอริยภาคย์
ตจวิทยา ( Dermatology )
นพ.สิทธิพล ขันทอง
นพ.สิทธิพล ขันทอง
อายุรศาสตร์โรคไต
นพ.สุรพันธ์ พนมศักดิ์
นพ.สุรพันธ์ พนมศักดิ์
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ ( Cardiology )
พญ.ณัฐชยา เชี่ยวชาญธนกิจ
พญ.ณัฐชยา เชี่ยวชาญธนกิจ
เวชศาสตร์ฟื้นฟู ( Rehabilitation Medicine )
นพ.ชัชวาลย์ ฮันตระกูล
นพ.ชัชวาลย์ ฮันตระกูล
อายุรศาสตร์ ( Internal Medicine )
นพ.สิทธินนท์ รุ่งจรัสศิริ
นพ.สิทธินนท์ รุ่งจรัสศิริ
รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ( Radiotherapy and Oncology )
พญ.ธิดารัตน์ ลักษณานันท์
พญ.ธิดารัตน์ ลักษณานันท์
อายุรศาสตร์โรคไต ( Nephrology )
พญ.สุนีย์ ณีศะนันท์
พญ.สุนีย์ ณีศะนันท์
อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ( Medical Oncology )
พญ.เพริศเพชร พัวพรพงษ์
พญ.เพริศเพชร พัวพรพงษ์
อายุรศาสตร์ ( Internal Medicine )
นพ.วัลลภ ศานติธรรม
นพ.วัลลภ ศานติธรรม
อายุรศาสตร์ ( Internal Medicine )
นพ.ช่วงโชติ สิงห์สง่า
นพ.ช่วงโชติ สิงห์สง่า
เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice)
นพ.ชวลิต วิมลเฉลา
นพ.ชวลิต วิมลเฉลา
อายุรศาสตร์ ( Internal Medicine )
พญ.จิตสุภา อ่อนนิภา
พญ.จิตสุภา อ่อนนิภา
อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ ( Pulmonary Medicine and Pulmonary Critical Care )
นพ.อภิวัฒน์ โตสุโขวงศ์
นพ.อภิวัฒน์ โตสุโขวงศ์
อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ ( Pulmonary Medicine and Pulmonary Critical Care )
นพ.ปรเมศร์ ขุนรงค์
นพ.ปรเมศร์ ขุนรงค์
อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ ( Pulmonary Medicine and Pulmonary Critical Care )
นพ.ธานินทร์ ภิญโญพรพาณิชย์
นพ.ธานินทร์ ภิญโญพรพาณิชย์
วิสัญญีวิทยา ( Anesthesiology )
พญ.ชมพูนุช มานะธรรมสมบัติ
พญ.ชมพูนุช มานะธรรมสมบัติ
โภชนศาสตร์คลินิก ( Clinical Nutrition )
พญ.กนกวรรณ เลาหศักดิ์ประสิทธิ์
พญ.กนกวรรณ เลาหศักดิ์ประสิทธิ์
อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ( Infectious Diseases )
นพ.ณัฐพงษ์ ตุลาพันธุ์
นพ.ณัฐพงษ์ ตุลาพันธุ์
นิติเวชศาสตร์ ( Forensic Medicine )
นพ.สมฤกษ์ อินจันทร์
นพ.สมฤกษ์ อินจันทร์
อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม ( Rheumatology )
นพ.พลัฏฐ์ สถิรวิชย์
นพ.พลัฏฐ์ สถิรวิชย์
อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร ( Gastroenterology )
พญ.มถนภรณ์ เคหะลูน
พญ.มถนภรณ์ เคหะลูน
อายุรศาสตร์โรคไต ( Nephrology )
นพ.อัครา ชวนสมสุข
นพ.อัครา ชวนสมสุข
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ ( Cardiology )
นพ.ธนพล เขียวอ้น
นพ.ธนพล เขียวอ้น
อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ ( Pulmonary Medicine and Pulmonary Critical Care )
พญ.กรชนก นคราวัฒน์
พญ.กรชนก นคราวัฒน์
อายุรศาสตร์ ( Internal Medicine )

บทความทางการแพทย์

Title Line
ผู้หญิงคิด
สูตินรีเวช
PCOS: ภาวะโพลีคิสติกรังไข่ที่ทุกสาวต้องเรียนรู้

เป็นปัญหาทางสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนและการทำงานของรังไข่ โดยมีผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ

สาขานครสวรรค์
คู่รัก
สูตินรีเวช
อายุเท่าไรถึงเริ่มกังวลเรื่องการมีลูก?

ในยุคปัจจุบันที่วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป หลายคนมักให้ความสำคัญกับการทำงาน การสร้างฐานะ และการพัฒนาตัวเองก่อนที่จะเริ่มต้นสร้างครอบครัว

สาขานครสวรรค์
appendicitis
ศัลยกรรม
โรคไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่ง หรือ Appendix เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายนิ้วมือขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ตั้งอยู่บริเวณท้องน้อยด้านขวา โดยเชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น

สาขานครสวรรค์
facebook messenger iconline icon